ยินต้อนรับเข้าสู่บล๊อก ของ..." เขาเรียกหนูว่า กล้วย ( เน่า ) "

วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555


ประชาคมอาเซียนกับการศึกษาไทย




บทนำ
    การศึกษาในโลกยุคไร้พรมแดน ( The Borderless ) ในปัจจุบันเป็นการศึกษา ที่สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ในสังคมทุกชนชั้นและทุกเชื้อชาติที่มีการติดต่อสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็วและอย่างทั่วถึงในหลากหลายรูปแบบหรือหลากหลายระบบของการจัดการศึกษาที่เกิดจากอิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร( Information and Communication Technology : ICT ) การศึกษาจะไม่ถูกปิดกั้นอยู่เฉพาะกลุ่มในวงแคบอีกต่อไป แต่จะเกิดการจัดการศึกษาที่กว้างไกล ในเชิงการศึกษา แบบข้ามวัฒนธรรม( Cross Culture ) เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ของมนุษย์ในสังคม ทั้งชนชาติเดียวกันและต่างชนชาติ ในสังคมแห่งยุคโลกาภิวัตน์ ( The Globalization ) ในปัจจุบัน ดังนั้นการเตรียมการและการสร้างความพร้อมของปัจเจกชนให้พร้อมและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นของวิถีชีวิตรวมทั้งการจัดระบบการศึกษาเรียนรู้ร่วมกันของโลกยุคไร้พรมแดนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และมีความจาเป็นต่อมนุษย์ทุกคนจนมิอาจหลีกเลี่ยงได้ หรือมิอาจปฏิเสธความเปลี่ยนแปลงที่กาลังจะเกิดขึ้นได้ทั้งในระยะเวลาปัจจุบันหรือในอนาคตก็ตาม
     การจัดการศึกษาในสังคมแห่งประชาคมอาเซียนก็เช่นเดียวกัน เป็นวิถีของการจัดการศึกษาของนานาชาติในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใกล้เคียงในการสร้างพลังทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยมีกระบวนการทางการศึกษาเป็นปัจจัยในการยึดโยงแต่ละชนชาติในแถบอาเซียนให้เกิดศักยภาพในการแข่งขัน และการดารงชีพร่วมกันได้อย่างเหมาะสมรวมทั้งความกลมกลืนในเชิงวัฒนธรรมที่จะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของคนในภูมิภาคดังกล่าวและส่งผลต่อกระแสโลกในวงกว้างต่อไป
     บทความนี้ผู้เขียนมีความตั้งใจจะสรุปให้เห็นความเป็นมาและความสำคัญของการรวมกลุ่มประชาชาติในอาเซียนที่เรียกว่า ประชาคมอาเซียน ( ASEAN Community )” โดยเฉพาะบทบาทสำคัญในด้านการศึกษาที่จะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการขับเคลื่อนวิถีแห่งสมาคมอาเซียนให้ก้าวไกลในสังคมโลกอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างและเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการก้าวสู่สังคมอาเซียนได้อย่างเชื่อมั่นและมั่นใจภายในปี 2558 ที่จะมาถึงในอีกไม่ช้านี้
ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
     1. ความหมาย อาเซียน ( ASEAN ) มาจากคาว่า Association of South-East Asian Nations แปลว่าประชาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศใช้คานี้ส่วนราชบัณฑิตยสถานบัญญัติใช้คาว่า สมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นคาที่มีความหมายเดียวกัน มีคา 2 คาที่คล้ายกันและออกเสียงเหมือนกันคือ Asian หมายถึงชนชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ASEAN (อักษรตัวใหญ่) หมายถึงชาติในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศ
     2. ความเป็นมา สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ ASEAN มีจุดกำเนิดแรกเริ่มจากปัจจัยสำคัญของการเมืองในภูมิภาคแถบนี้ที่เกิดจากระบอบคอมมิวนิสต์ในบางประเทศเช่น ลาว กัมพูชา และเวียดนามเพื่อมิให้เกิดการแทรกซึมของลัทธิคอมมิวนิสต์จึงส่งผลให้เกิดการรวมตัวของประเทศโลกเสรีที่มุ่งก่อตั้งเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับภูมิภาค แรกเริ่มมี 3 ประเทศคือ ไทย มาเลย์เซีย และสิงคโปร์ ก่อตั้งเป็นสมาคม ASA( Association of Southeast Asians )ภายหลังมีการลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ ( Bangkok Declaration )เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 จัดตั้งเป็น ASEAN โดยเริ่มแรกจัดตั้งโดยประเทศสมาชิก 5 ประเทศคือ ไทย มาเลย์เซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซียและ ฟิลิปปินส์ เรียกว่ากลุ่ม “Upper 5 Countries”
     ภายหลังเมื่อระบอบคอมมิวนิสต์ล่มสลายลงประเทศต่างๆในภูมิภาคได้เริ่มสนใจสมัครเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนเรียกว่ากลุ่ม “ Lower 5 Countries” ดังนี้คือ
     - บรูไนดารุสซาลาม เป็นสมาชิกเมื่อ 7 มกราคม 2527
     - เวียดนาม เป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฎาคม 2538
     - ลาว และ พม่า เป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540
     - กัมพูชา เป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542
     ปัจจุบันสมาชิกของสมาคมอาเซียมีจานวนทั้งหมด 10 ประเทศได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลย์เซีย สหภาพพม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม
     3. สัญลักษณ์ สัญลักษณ์ของอาเซียนคือรูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดง ที่ล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้าเงิน รวงข้าง 10 ต้นมัดเป็นหนึ่งเดียวหมายถึงประเทศ 10 ประเทศ สีเหลืองหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง สีแดงหมายถึงความกล้าหาญและพลังขับเคลื่อนไปข้างหน้า สีขาวหมายถึงความบริสุทธิ์ และสีน้าเงินหมายถึงสันติภาพและความมั่นคง
     4. วิสัยทัศน์ ( Vision ) ประชาคมอาเซียนได้กาหนดวิสัยทัศน์ไว้ดังนี้
หนึ่งวิสัยทัศน์ , หนึ่งเอกลักษณ์ , หนึ่งประชาคม ( One Vision , One Identity , One Community )”
เป้าหมายของประชาคมอาเซียน
     การจัดตั้งประชาคมอาเซียนนั้น ได้กำหนดเป้าหมายในการรวมตัวกันของทั้ง 10 ประเทศให้ได้ภายในปี พ.ศ.2558 ( เดิมคาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2560 )ทั้งนี้ได้มีการกำหนดเป้าหมายของความเป็นประชาคมอาเซียนโดยแบ่งออกเป็น 3 เสาหลักสำคัญได้แก่
     1. ด้านการเมือง ให้จัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ( ASEAN Political Security Community ) โดยมุ่งส่งเสริมความร่วมมือในด้านการเมืองและด้านความมั่นคงเพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี ทั้งนี้เพื่อรองรับการเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน โดยเน้นใน 3 ประการสำคัญคือ
  
     1.1 การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่างๆที่จะร่วมกันทา เพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคม วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ส่งเสริมและคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชน สนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทุจริต ส่งเสริมหลักนิติธรรม เป็นต้น
         1.2 ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการักษาความมั่นคงสาหรับประชาชน ที่ครอบคลุมในทุกๆที่รวมทั้งความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในทุกรูปแบบ ซึ่งหมายถึงมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและระงบข้อพิพาทโดยสันติเพื่อป้องกันสงคราม อยู่ด้วยกันโดยสันติสุขไม่มีความหวาดระแวง นอกจากนี้ยังร่วมมือต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่นการก่อการร้าย ลัทธิหรืออาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติด การค้ามนุษย์ การป้องกันภัยธรรมชาติ เป็นต้น
         1.3 การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก กำหนดกิจกรรมเพื่อกำหนดบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น ASEAN + 3 , ASEAN + 6 เป็นต้น
      2. ด้านเศรษฐกิจ ให้จัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economic Community ) โดยอาเซียนจะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2553 โดยเป้าหมายให้มีตลาดการค้าและฐานการผลิตเดียวกัน และมีการเคลื่อนย้ายสินค้า การบริการ การลงทุน การเงินและแรงงานฝีมืออย่างเสรี ทั้งนี้มีการจัดทาแผนงานบูรณาการด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้านคือ
          2.1 การเป็นตลาดและฐานผลิตเดียวโดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานและทุนอย่างเสรี รวมทั้งการรวมกลุ่มสาขาที่สำคัญของอาเซียนให้เป็นรูปธรรม มีมาตรการลดภาษีสินค้าให้เป็นศูนย์ และเปิดตลาดภาคบริการทั้งหมดภายในปี 2558          2.2 การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญกับประเด็นด้านนโยบายที่จะส่งเสริมการรวมกลุ่มกันด้านเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ นโยบายภาษีและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศและพลังงาน
          2.3 การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาคโดยมีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
( SMEs )
และการส่งเสริมขีดความสามรรถผ่านโครงการต่างๆ ทั้งนี้เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก
          2.4 การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการประสานนโยบายกับนอกภูมิภาค เพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน เช่น จัดทาเขตการค้าเสรีของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ เป็นต้นรวมทั้งส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการผลิตและจาหน่ายในภูมิภาคให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก
      3. ด้านสังคมวัฒนธรรม ให้จัดตั้งประชาคมและวัฒนธรรมอาเซียน ( ASEAN Socio-Culture Community ) โดยมุ่งหวังประโยชน์จากการรวมตัวกันเพื่อทาให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี และมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีความร่วมมือเฉพาะด้าน ( Functional Cooperation ) ภายใต้สังคมและวัฒนธรรมที่ครอบคลุมหลายด้าน ได้แก่ เยาวชน การศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สิทธิมนุษยชน สาธารณสุข วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม สตรี แรงงาน ขจัดความยากจน สวัสดิการสังคมและการพัฒนาวัฒนธรรมและสารนิเทศ กิจการพลเรือน การตรวจคนเข้าเมืองและกงสุล ยาเสพติด และการจัดการกับภัยพิบัติ โดยมีคณะทำงานอาเซียนดำเนินความร่วมมือในแต่ละด้าน
ยุทธศาสตร์สำคัญในการสร้างความเชื่อมโยงของ ASEAN
      ความเป็นประชาคมอาเซียนได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความเชื่อมโยง ( ASEAN Connectivity ) ไว้ใน 7 ยุทธศาสตร์ ( Strategies ) ที่สำคัญดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1. ก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงให้แล้วเสร็จ 23 เส้นทาง ระยะทางรวมทั้งสิ้น 38,400 กิโลเมตร ได้แก่
      - ภายในปี 2012 ปรับปรุงถนนให้ได้มาตรฐานขั้นที่ 3 เป็นอย่างน้อย
      - ภายในปี 2013 ติดตั้งป้ายจราจรให้ครบทุกสายที่กำหนด
      - ภายในปี 2015 ศึกษาเพื่อเชื่อมโยงประเทศเป็นเกาะกับแผ่นดินใหญ่เพื่อเชื่อถนนสายเอเชียไปสู่จีน และอินเดีย
      - ภายในปี 2020 ปรับปรุงส่วนที่มีการจราจรเป็นถนนมาตรฐานชั้น 1
ยุทธศาสตร์ที่ 2. ดาเนินการโครงการรถไฟสิงคโปร์ - -คุนหมิง ให้แล้วเสร็จ
ยุทธศาสตร์ที่ 3. สร้างเครือข่ายระบบการขนส่งทางน้าบนภาคพื้นทวีปให้มีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงกัน
ยุทธศาสตร์ที่ 4. สร้างระบบการขนส่งทางทะเลที่เชื่อมโยงมีประสิทธิภาพและแข่งขันได้
ยุทธศาสตร์ที่ 5. สร้างระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่คล่องตัว เพื่อให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางการขนส่งในเอเชียตะวันออกและภูมิภาคอื่นๆ
ยุทธศาสตร์ที่ 6. เร่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในชาติสมาชิก
ยุทธศาสตร์ที่ 7. ให้ความสำคัญกับโครงการหรือโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของอาเซียนเช่น พลังงานน้า พลังงานน้ามันและปิโตรเลียม พลังงานแก็ซธรรมชาติ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงบูรณาการทั้ง 7 ยุทธศาสตร์เพื่อการเชื่อมโยงของอาเซียนที่กล่าวในเบื้องต้น จะเป็นตัวแปรสำคัญในการสร้างประสิทธิภาพร่วมกันของประเทศเครือข่ายสมาชิกสมาคมอาเซียนทั้งหมดให้เกิดความเข้มแข็งในเชิงพัฒนาตามเป้าหมายหลัก 3 ประการตามที่กำหนดไว้
แนวทางการสร้างความพร้อมเพื่อก้าวสู่ ASEAN
      เพื่อสร้างความพร้อมให้กับสังคมในชาติอาเซียนเพื่อรองรับกับการก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในปี 2558 นั้น ต้องมีการสร้างและเตรียมความพร้อมในประเด็นสำคัญต่างๆดังต่อไปนี้
1. ทำความเข้าใจในเรื่องของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อสร้างความเข้าใจให้ถูกต้องตรงกัน
2. สร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในด้านต่างๆ เช่น ค่านิยมในการไม่ใช้กำลัง ยึดหลักสันติวิธี การไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆเพื่อความสงบสุขสันติภาพในภูมิภาค
3. เสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญภัยคุกคามความมั่นคง บนพื้นฐานความมั่นคงของมนุษย์ ตลอดจนการประสานการจัดทาข้อมูลกลางในเรื่องอาชญากรรมข้ามชาติในอาเซียน เพื่อแก้ปัญหาการก่อการร้าย ยาเสพติด การประพฤติผิดกฎหมายและอาชญากรรมข้ามชาติ
4. เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการทหารเพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและป้องกันความขัดแย้งรุนแรง
5. เตรียมความพร้อมสาหรับบุคลากรสาขาต่างๆอาทิ ภาอังกฤษ และภาษาท้องถิ่นเนื่องจากอาเซียนใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการประสานงาน ส่วนภาษาท้องถิ่นใช้สาหรับการติดต่อสื่อสารและอานวยความสะดวกต่อประชาชนและนักท่องเที่ยวของประเทศสมาชิก
6. ศึกษาข้อมูลต่างๆโดยเฉพาะตัวบทกฎหมายของสมาชิกแต่ละประเทศเนื่องจากมีความแตกต่างกันเพื่อประโยชน์ในการเสริมสร้างความร่วมมือและป้องกันความขัดแย้งระหว่างประเทศ
7. ศึกษาวัฒนธรรมของแต่ละประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน อาทิ ชาวมุสลิม เพื่อสร้างความเข้าใจและการปฏิบัติต่อประชาชนเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง
8. จัดตั้งสานักงาน / สำนัก / ส่วนงาน เพื่อดูแลงานรับผิดชอบด้านอาเซียนโดยเฉพาะในประเด็นที่กล่าวถึงทั้งหมดจาเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องมีการจัดเตรียมความพร้อมให้สมาชิกในสังคมต้องพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งด้านการศึกษาด้วยเช่นกัน
ขอบข่ายและแนวทางพัฒนาการศึกษารองรับ ASEAN
      การเตรียมการและสร้างความพร้อมด้านการศึกษาเพื่อรองรับความเป็นประชาคมอาเซียนนั้นเป็นประเด็นที่สำคัญยิ่งที่จะสร้างทรัพยากรมนุษย์ของคนในชาติให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลง และปรับตัวให้ทันกับสังคมอาเซียนได้อย่างมีคุณภาพและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในวิถีการดารงชีพ ในการสร้างความพร้อมและการเตรียมการด้านการศึกษานั้นจะมีกรอบแนวคิดและแนวปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวข้องที่ขอนามากล่าวถึงเพื่อประกอบการศึกษาและกำหนดแนวยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อก้าวสู่ ASEAN ดังต่อไปนี้
ก. นโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา
      นโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลปัจจุบัน (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2554 เปรียบได้ว่าเป็นการสร้างแนวทางความพร้อมด้านการศึกษาเพื่อรองรับกับการก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในหลายรูปแบบในอนาคต ซึ่งขอนามากล่าวโดยสังเขปดังต่อไปนี้
      4.1 นโยบายด้านการศึกษา
      
4.1.1 เร่งรัดพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการปฏิรูประบบการเรียนรู้ของสังคมไทย ประกอบไปด้วยการยกระดับองค์ความรู้ให้ได้มาตรฐานสากล จัดให้มีโครงการตาราแห่งชาติที่บรรจุความรู้ที่ก้าวหน้าและได้มาตรฐาน ทั้งความรู้ที่เป็นสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการอ่าน พร้อมทั้งส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศและภาษาถิ่น จัดให้มีระบบการจัดการความรู้ ปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลก และทัดเทียมกับมาตรฐานสากลบนความเป็นท้องถิ่นและความเป็นไทย เพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาทุกระดับชั้นโดยใดผลจากการทดสอบตามมาตรฐานในระดับชาติและนานาชาติ ขจัดความไม่รู้หนังสือให้หมดสิ้นไปในสังคมไทย จัดให้มีครูดีและเพียงพอในทุกห้องเรียน ให้มีโรงเรียนและสถาบันอาชีวศึกษาคุณภาพสูงในทุกพื้นที่ พัฒนามหาวิทยาลัยเข้าสู่ระดับโลก พัฒนาระบบการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรม มุ่งการสร้างจริยธรรมระดับปัจเจก รวมทั้งสร้างความตระหนักในระดับสิทธิและหน้าที่ความเสมอภาค และดาเนินการให้การศึกษาขั้นพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตยที่แท้จริง ปรับปรุงโครงสร้างระบบบริหารการศึกษาโดยการกระจายอานาจลงสู่พื้นที่ให้เสร็จสมบูรณ์โดยเริ่มจากพื้นที่ที่มีความพร้อม
       4.1.2 สร้างโอกาสทางการศึกษา กระจายโอกาสทางการศึกษาในสังคมไทยให้คำนึงถึงการสร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นกับทุกภาคส่วน รวมถึงผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้บกพร่องทางกายและการเรียนรู้รวมทั้งชนกลุ่มน้อย โดยส่งเสริมการเรียนรู้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาถึงแรกเกิด ได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพทั้งแม่และเด็ก สนับสนุนการจัดการศึกษาตามวัยและพัฒนาการอย่างมีคุณภาพ ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดให้มีการเทียบโอนการศึกษาตามลาดับสาหรับกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง จัดให้มีระบบสะสมผลการศึกษาและการเทียบโอนเพื่อขยายโอกาสให้กว้างขวาง และลดปัญหาคนออกจากระบบการศึกษา
       นอกจากนี้จะดาเนินการลดข้อจากัดของการเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาขั้นสูง โดยจัดให้มี โครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคตให้ผู้กู้ยืมได้เริ่มใช้คืนเมื่อมี่รายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงตัวได้ พักชาระหนี้แก่ผู้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาโดยปรับเปลี่ยนการชาระหนี้ระบบผูกพันกับรายได้ในอนาคต ปรับปรุงการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในทุกระดับให้เอื้อต่อการกระจายโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งจัดให้มีระบบการคัดเลือกกลางเพื่อเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ดาเนินโครงการ “ 1 ทุน 1 อาเภอเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กไทยไปเรียนต่อต่างประเทศ จัดการศึกษาชุมชนเพื่อมุ่งให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้และการศึกษาตลอดชีวิต
       4.1.3 การปฏิรูปครู ยกฐานะครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงอย่างแท้จริง โดยปฏิรูประบบการผลิตครูให้มีคุณภาพทัดเทียมนานาชาติ สร้างแรงจูงใจให้คนเรียนดีและมีคุณธรรมเข้าสู่วิชาชีพครู ปรับปรุงระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนครู พัฒนาระบบความก้าวหน้าของครูโดยใช้การประเมินเชิงประจักษ์ที่อิงขีดความสามารถและวัดสัมฤทธิผลของการจัดการศึกษาเป็นหลัก จัดระบบการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพครูอย่างต่อเนื่อง แก้ปัญหาหนี้สินครูโดยการพักชาระหนี้ และปรับโครงสร้างหนี้ตามนโยบายแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของรัฐบาล พัฒนาระบบภูมิสารสนเทศเพื่อใช้ในการกระจายครู ขจัดปัญหาการขาดแคลนครูในสาระวิชาหลักเช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษา
       4.1.4 จัดการศึกษาขั้นอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา ให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยกระบวนการสร้างประสบการณ์ระหว่างเรียนอย่างเหมาะสม สนับสนุนการสร้างรายได้ระหว่างเรียนและสนับสนุนผู้สำเร็จการศึกษามีงานทาได้ทันทีโดยความร่วมมือระหว่างแหล่งงานกับสถานศึกษา ส่งเสริมให้มีศูนย์อบรมอาชีวศึกษาเพื่อให้นักเรียน นักศึกษาและประชาชน สามารถใช้ในการเรียนรู้หาประสบการณ์ก่อนไปประกอบอาชีพ โดยให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาดาเนินการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาอาชีพร่วมจัดให้มีศูนย์ซ่อมสร้างประจาชุมชนเพื่อฝึกฝนช่างฝีมือและการสร้างทักษะในการให้บริการแก่ประชาชน
     
ทั้งนี้จะต้องดาเนินการร่วมกับภาคเอกชนอย่างจริงจังเพื่อเสริมสร้างการศึกษาในสายอาชีวศึกษาให้เป็นที่ยอมรับ และสามารถมีรายได้สูงตามความสามารถ
       4.1.5 เร่งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนานาชาติ โดยใช้เป็นเครื่องมือในการเร่งยกระดับคุณภาพและการกระจายโอกาสทางการศึกษาจัดให้มีระบบการเรียนแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ เพื่อเป็นกลไกในการเปลี่ยนกระบวนทัศน์การเรียนรู้ให้เป็นแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษา พัฒนาระบบ ไซเบอร์โฮมที่สามารถส่งความรู้มายังผู้เรียนโดยระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ส่งเสริมให้นักเรียนทุกระดับชั้นให้ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ขยายระบบโทรทัศน์เพื่อการศึกษาให้กว้างขวาง ปรับปรุงห้องเรียนนาร่องให้ได้มาตรฐานห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเร่งดาเนินการให้ กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสามารถดาเนินการตามภารกิจได้
       4.1.6 สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างทุนทางปัญญาของชาติ พัฒนามหาวิทยาลัยเพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยระดับโลก ระดมสรรพกาลังเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายการวิจัยแห่งชาติเพื่อสร้างทุนทางปัญญาและนวัตกรรมผลักดันให้ประเทศสามารถพึ่งตนเองได้ด้านเทคโนโลยีเพื่อนาไปสู่การสร้างรากฐานใหม่ของเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อการวิจัยของชาติโดยดาเนินความสัมพันธ์อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพระหว่างองค์กรบริหารการวิจัยกับสถาบันอุดมศึกษา       4.1.7 เพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน โดยร่วมมือกับภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาในการวางแผนการผลิตและพัฒนากาลังคนให้มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอ สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิตและบริการ เร่งรัดการจัดทามาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพรับรองสมรรถนะการปฏิบัติงานตามมาตรฐานอาชีพและการจัดทามาตรฐานฝีมือแรงงานให้ครบทุกอุตสาหกรรม...
ข. ยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ
     กระทรวงศึกษาธิการในยุคของนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กาหนดยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล จึงกาหนดเป็นยุทธศาสตร์ 555 ซึ่งถูกกาหนดไว้ว่าภายในเวลา 2 ปี กระทรวงศึกษาธิการจะสามารถพัฒนา 5 ศักยภาพของพื้นที่ใน 5 กลุ่มอาชีพใหม่ให้สามารถแข่งขันได้ใน 5 ภูมิภาคหลักของโลก ดังนี้
     ยุทธศาสตร์ 5 ศักยภาพของพื้นที่ ประกอบด้วย
    1. ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
    2. ศักยภาพของพื้นที่ตามสภาวะภูมิภาค
    3. ศักยภาพของภูมิประเทศ และทำเลที่ตั้ง
    4. ศักยภาพของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิต
    5. ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์
     ยุทธศาสตร์ 5 กลุ่มอาชีพใหม่ ประกอบด้วย
    1. อาชีพเกษตรกรรม
    2. อาชีพอุตสาหกรรม
    3. อาชีพพาณิชยกรรม
    4. อาชีพด้านความคิดสร้างสรรค์
    5. อาชีพบริหารจัดการและบริการ
     ยุทธศาสตร์ 5 ภูมิภาคหลักของโลกได้แก่
    1. ทวีปแอฟริกา ( Africa )
    
2. ทวีปยุโรป ( Europe )
    3. ทวีปอเมริกา ( America )
    4. ทวีปออสเตรเลีย ( Australia )
    5. ทวีปเอเชีย ( Asia )
ทั้งนี้จากยุทธศาสตร์ 555 ที่กล่าวนั้นต้องคำนึงถึงหลักการพื้นฐานสำคัญดังนี้
      1. คำนึงถึงศักยภาพและการบริหารรอบด้านของผู้เรียน
      2. พัฒนาและยกระดับ องค์ความรู้ และกระบวนการเรียนการสอนให้ทัดเทียมนานาอารยะประเทศด้านยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ และการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
      3. มุ่งสู่เป้าหมายของการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับศักยภาพในการทางานให้กับบุคลากร/คนไทยให้แข่งขันกับระดับสากลได้
ค. ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาระดับพื้นที่
      จากการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์เชิงนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการยุคใหม่แล้ว จะเห็นได้ว่าแนวนโยบายดังกล่าวได้มุ่งเน้นไปสู่การปรับสร้างยุทธศาสตร์ของการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา โดยมีแนวทางในการพัฒนาภายใต้การยึดพื้นที่เป็นหลัก ( Area-Based Approach )เพื่อให้เกิดการประสานการทางานกันทุกฝ่ายทุกระดับและทุกประเภทการศึกษา ซึ่งนับว่าเป็นแนวทางและเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ การทางานที่มุ่งเน้นการบริหารโดยยึดพื้นที่เป็นฐานนั้น หัวใจสำคัญที่ต้องไม่ลืมและต้องทาให้ได้คือ การยึดโรงเรียนเป็นฐานสำคัญของการปฏิบัติ ( School- Based Approach ) กระจายอำนาจให้โรงเรียนมีอิสระ คล่องตัว ผู้บริหารต้องอยู่โรงเรียน ครูอยู่ที่ห้องเรียนเป็นหลัก       กระบวนทัศน์ ( Paradigm ) ของการจัดการศึกษาตามแนวคิดที่กระทรวงศึกษาธิการยุคปัจจุบันกำหนดขึ้นโดยกำหนดระบบบริหารจัดการไว้ที่พื้นที่เป็นฐานการปฏิบัติ ( Area – Based ) ทั้งนี้โดยยึดพื้นที่ตั้งจังหวัดเป็นฐาน เพื่อมุ่งส่งเสริมการมีอาชีพหรือการสร้างรายได้ของผู้ที่จบการศึกษาในแต่ละพื้นที่เป็นประการสำคัญ ซึ่งกระบวนทัศน์หรือแนวคิดดังกล่าวมีชื่อเรียกเฉพาะว่า หลักสูตรต้นน้า กลางน้ำ ปลายน้ำประกอบด้วยประเด็นสำคัญของระบบงานมีดังนี้
   ต้นน้ำ
  - กิจการศักยภาพของพื้นที่
  - เน้นการจัดการศึกษาโดยยึดพื้นที่เป็นฐานในการพัฒนา ( Area-based Development )
  - หลักสูตรศึกษาที่เน้นอาชีพเป็นฐาน ( Career-based Education )
   กลางน้ำ
  - ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรที่กำหนด
  - มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
  - ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
    ปลายน้ำ
  - ผู้ผ่านระบบการศึกษาทุกคนทุกกลุ่มมีงานทำ ดูแลตนเองและสังคมได้
  - สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้
หลักสูตรการศึกษาแบบต้นน้า - กลางน้ำ - ปลายน้ำ    ที่กล่าวนั้นแสดงให้เห็นได้ ดังต่อไปนี้
     ต้นน้ำ
1. ยึดพื้นที่เป็นฐาน ( Area-Based Approach )
2. มุ่งเน้นอาชีพ ( Career-Based Development )
     กลางน้ำ
1. ดำเนินการพัฒนาหลักสูตร ครู และบุคลากรอื่นๆ
2. เน้น 5 อาชีพหลักได้แก่
         - การเกษตร
         - อุตสาหกรรม
         - พาณิชยกรรม
         - ความคิดสร้างสรรค์
         - การจัดการและบริการ
     ปลายน้ำ
1. ผู้เรียนมีอาชีพ มีงานทา
2. สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก
     หลักสูตรตามแนวคิดหรือกระบวนทัศน์ ( Paradigm ) ใหม่ที่กาหนดขึ้นมานี้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นที่และสถานศึกษา จะเป็นฐานสาคัญของการพัฒนาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพแก่ผู้เรียน และประการสาคัญก็คือเกิดการสร้างวิชาชีพเชิงพัฒนา ( Career Development ) มุ่งสู่การแข่งขันในระดับโลก ( World Competitiveness )ในที่สุด
     บทสรุป : การสร้างศักยภาพการศึกษามุ่งสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน
จากการวิเคราะห์เพื่อสร้างความพร้อมด้านการศึกษาของไทยในการก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนโดยยึดโยงแนวคิดจากยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาหลายระดับทั้งจากระดับชาติ ระดับกระทรวง และระดับพื้นที่ลงสู่ระดับสถานศึกษา นั้น สามารถสรุปเป็นตัวแบบ ( Model ) ของการเตรียมการและสร้างความพร้อมใน 3 ตัวแบบที่ขอนามาสรุปให้เห็นดังต่อไปนี้
     Model  1. การสร้างความพร้อมของการศึกษาเชิงระบบ
       จากนบายรัฐบาลด้านการศึกษาและยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อมุ่งสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนนั้น เป็นยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญยิ่งที่ต้องมุ่งสร้างศักยภาพและผลประโยชน์สูงสุดร่วมกันให้เกิดขึ้นในภูมิภาค
       ประเด็นสำคัญเพื่อสร้างศักยภาพและความพร้อมของการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเป็น ASEAN นั้นต้องเป็นกระบวนการทางานในเชิงระบบ ( Systems Approach ) ให้มากยิ่งขึ้น มีการวิเคราะห์ความจาเป็นเพื่อยึดโยงไปสู่เป้าหมายตามจุดประสงค์ที่กำหนด โดยวิเคราะห์จากฐานความรู้หรือประสบการณ์เดิมเป็นฐานสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมา จะเป็นข้อมูลฐานสำคัญที่จะนาไปสู่การต่อยอดพัฒนาและปฏิบัติตามแนวนโยบายที่ภาครัฐกำหนดไว้เป็นยุทธศาสตร์ของการดาเนินงานเชิงระบบ บทสรุปสุดท้ายคือการสร้างคุณภาพมาตรฐานความรู้ เกิดศักยภาพในการแข่งขันและเกิดคุณภาพชีวิตที่ดีส่งผลต่อสังคมรอบด้าน
      Model  2. ระบบการจัดการศึกษาที่สมบูรณ์
       การจัดการศึกษามุ่งสู่สมาคมอาเซียนนอกจากจะเป็นการศึกษาจากหลักสูตรที่กาหนดเพื่อสร้างสังคมยุคสารสนเทศที่มีความทั่วถึงและทัดเทียมกันแล้ว ยังต้องเป็นการศึกษาที่มุ่งสร้างคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์ที่สุดด้วยเพื่อขจัดปัญหาด้านวิถีการดารงชีวิตที่หลากหลายให้หมดไป ซึ่งการจัดการศึกษาที่สมบูรณ์ที่มุ่งสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนจะประกอบไปด้วยหลักสาคัญ 3 ประการดังที่ท่านพุทธทาสภิกขุได้กล่าวไว้คือ
      1. เป็นการศึกษาที่สร้างความฉลาด สร้างสติปัญญาในขั้นพื้นฐาน พอตัว คือพอแก่ความต้องการ
      2. เป็นการศึกษาที่สร้างคนให้มีความรู้เรื่องวิชาชีพ และมีอาชีพพอตัวสามารถปฏิบัติได้
      3. เป็นการศึกษาที่สร้างความมีมนุษยธรรม คือความเป็นมนุษย์อย่างถูกต้อง
      Model  3. การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองโลก
       การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง ( Civic Education ) เป็นการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง ( Citizenship ) ของระบอบประชาธิปไตย การเป็นสมาชิกของสังคมที่มีอิสรภาพควบคู่กับความรับผิดชอบ และมีสิทธิเสรีภาพควบคู่กับหน้าที่ โดยมีความสามารถในการยอมรับความแตกต่างและเคารพกติกาการอยู่ร่วมกัน พร้อมทั้งมีส่วนร่วมต่อความเป็นไปและแก้ปัญหาของสังคมตนเอง กล่าวโดยสรุปการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองจะประกอบไปด้วยลักษณะสำคัญ 6 ประการคือ
      1. มีอิสรภาพที่ควบคู่กับความรับผิดชอบ
      2. เคารพสิทธิ์ของผู้อื่น
      3. เคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล
      4. เคารพหลักความเสมอภาค
      5. เคารพกฎกติกาทางสังคม
      6. มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา


ที่มา :  http://www.addkutec3.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น