ยินต้อนรับเข้าสู่บล๊อก ของ..." เขาเรียกหนูว่า กล้วย ( เน่า ) "

วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555


ประชาคมอาเซียนกับการศึกษาไทย




บทนำ
    การศึกษาในโลกยุคไร้พรมแดน ( The Borderless ) ในปัจจุบันเป็นการศึกษา ที่สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ในสังคมทุกชนชั้นและทุกเชื้อชาติที่มีการติดต่อสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็วและอย่างทั่วถึงในหลากหลายรูปแบบหรือหลากหลายระบบของการจัดการศึกษาที่เกิดจากอิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร( Information and Communication Technology : ICT ) การศึกษาจะไม่ถูกปิดกั้นอยู่เฉพาะกลุ่มในวงแคบอีกต่อไป แต่จะเกิดการจัดการศึกษาที่กว้างไกล ในเชิงการศึกษา แบบข้ามวัฒนธรรม( Cross Culture ) เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ของมนุษย์ในสังคม ทั้งชนชาติเดียวกันและต่างชนชาติ ในสังคมแห่งยุคโลกาภิวัตน์ ( The Globalization ) ในปัจจุบัน ดังนั้นการเตรียมการและการสร้างความพร้อมของปัจเจกชนให้พร้อมและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นของวิถีชีวิตรวมทั้งการจัดระบบการศึกษาเรียนรู้ร่วมกันของโลกยุคไร้พรมแดนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และมีความจาเป็นต่อมนุษย์ทุกคนจนมิอาจหลีกเลี่ยงได้ หรือมิอาจปฏิเสธความเปลี่ยนแปลงที่กาลังจะเกิดขึ้นได้ทั้งในระยะเวลาปัจจุบันหรือในอนาคตก็ตาม
     การจัดการศึกษาในสังคมแห่งประชาคมอาเซียนก็เช่นเดียวกัน เป็นวิถีของการจัดการศึกษาของนานาชาติในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใกล้เคียงในการสร้างพลังทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยมีกระบวนการทางการศึกษาเป็นปัจจัยในการยึดโยงแต่ละชนชาติในแถบอาเซียนให้เกิดศักยภาพในการแข่งขัน และการดารงชีพร่วมกันได้อย่างเหมาะสมรวมทั้งความกลมกลืนในเชิงวัฒนธรรมที่จะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของคนในภูมิภาคดังกล่าวและส่งผลต่อกระแสโลกในวงกว้างต่อไป
     บทความนี้ผู้เขียนมีความตั้งใจจะสรุปให้เห็นความเป็นมาและความสำคัญของการรวมกลุ่มประชาชาติในอาเซียนที่เรียกว่า ประชาคมอาเซียน ( ASEAN Community )” โดยเฉพาะบทบาทสำคัญในด้านการศึกษาที่จะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการขับเคลื่อนวิถีแห่งสมาคมอาเซียนให้ก้าวไกลในสังคมโลกอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างและเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการก้าวสู่สังคมอาเซียนได้อย่างเชื่อมั่นและมั่นใจภายในปี 2558 ที่จะมาถึงในอีกไม่ช้านี้
ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
     1. ความหมาย อาเซียน ( ASEAN ) มาจากคาว่า Association of South-East Asian Nations แปลว่าประชาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศใช้คานี้ส่วนราชบัณฑิตยสถานบัญญัติใช้คาว่า สมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นคาที่มีความหมายเดียวกัน มีคา 2 คาที่คล้ายกันและออกเสียงเหมือนกันคือ Asian หมายถึงชนชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ASEAN (อักษรตัวใหญ่) หมายถึงชาติในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศ
     2. ความเป็นมา สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ ASEAN มีจุดกำเนิดแรกเริ่มจากปัจจัยสำคัญของการเมืองในภูมิภาคแถบนี้ที่เกิดจากระบอบคอมมิวนิสต์ในบางประเทศเช่น ลาว กัมพูชา และเวียดนามเพื่อมิให้เกิดการแทรกซึมของลัทธิคอมมิวนิสต์จึงส่งผลให้เกิดการรวมตัวของประเทศโลกเสรีที่มุ่งก่อตั้งเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับภูมิภาค แรกเริ่มมี 3 ประเทศคือ ไทย มาเลย์เซีย และสิงคโปร์ ก่อตั้งเป็นสมาคม ASA( Association of Southeast Asians )ภายหลังมีการลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ ( Bangkok Declaration )เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 จัดตั้งเป็น ASEAN โดยเริ่มแรกจัดตั้งโดยประเทศสมาชิก 5 ประเทศคือ ไทย มาเลย์เซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซียและ ฟิลิปปินส์ เรียกว่ากลุ่ม “Upper 5 Countries”
     ภายหลังเมื่อระบอบคอมมิวนิสต์ล่มสลายลงประเทศต่างๆในภูมิภาคได้เริ่มสนใจสมัครเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนเรียกว่ากลุ่ม “ Lower 5 Countries” ดังนี้คือ
     - บรูไนดารุสซาลาม เป็นสมาชิกเมื่อ 7 มกราคม 2527
     - เวียดนาม เป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฎาคม 2538
     - ลาว และ พม่า เป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540
     - กัมพูชา เป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542
     ปัจจุบันสมาชิกของสมาคมอาเซียมีจานวนทั้งหมด 10 ประเทศได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลย์เซีย สหภาพพม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม
     3. สัญลักษณ์ สัญลักษณ์ของอาเซียนคือรูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดง ที่ล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้าเงิน รวงข้าง 10 ต้นมัดเป็นหนึ่งเดียวหมายถึงประเทศ 10 ประเทศ สีเหลืองหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง สีแดงหมายถึงความกล้าหาญและพลังขับเคลื่อนไปข้างหน้า สีขาวหมายถึงความบริสุทธิ์ และสีน้าเงินหมายถึงสันติภาพและความมั่นคง
     4. วิสัยทัศน์ ( Vision ) ประชาคมอาเซียนได้กาหนดวิสัยทัศน์ไว้ดังนี้
หนึ่งวิสัยทัศน์ , หนึ่งเอกลักษณ์ , หนึ่งประชาคม ( One Vision , One Identity , One Community )”
เป้าหมายของประชาคมอาเซียน
     การจัดตั้งประชาคมอาเซียนนั้น ได้กำหนดเป้าหมายในการรวมตัวกันของทั้ง 10 ประเทศให้ได้ภายในปี พ.ศ.2558 ( เดิมคาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2560 )ทั้งนี้ได้มีการกำหนดเป้าหมายของความเป็นประชาคมอาเซียนโดยแบ่งออกเป็น 3 เสาหลักสำคัญได้แก่
     1. ด้านการเมือง ให้จัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ( ASEAN Political Security Community ) โดยมุ่งส่งเสริมความร่วมมือในด้านการเมืองและด้านความมั่นคงเพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี ทั้งนี้เพื่อรองรับการเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน โดยเน้นใน 3 ประการสำคัญคือ
  
     1.1 การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่างๆที่จะร่วมกันทา เพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคม วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ส่งเสริมและคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชน สนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทุจริต ส่งเสริมหลักนิติธรรม เป็นต้น
         1.2 ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการักษาความมั่นคงสาหรับประชาชน ที่ครอบคลุมในทุกๆที่รวมทั้งความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในทุกรูปแบบ ซึ่งหมายถึงมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและระงบข้อพิพาทโดยสันติเพื่อป้องกันสงคราม อยู่ด้วยกันโดยสันติสุขไม่มีความหวาดระแวง นอกจากนี้ยังร่วมมือต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่นการก่อการร้าย ลัทธิหรืออาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติด การค้ามนุษย์ การป้องกันภัยธรรมชาติ เป็นต้น
         1.3 การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก กำหนดกิจกรรมเพื่อกำหนดบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น ASEAN + 3 , ASEAN + 6 เป็นต้น
      2. ด้านเศรษฐกิจ ให้จัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economic Community ) โดยอาเซียนจะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2553 โดยเป้าหมายให้มีตลาดการค้าและฐานการผลิตเดียวกัน และมีการเคลื่อนย้ายสินค้า การบริการ การลงทุน การเงินและแรงงานฝีมืออย่างเสรี ทั้งนี้มีการจัดทาแผนงานบูรณาการด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้านคือ
          2.1 การเป็นตลาดและฐานผลิตเดียวโดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานและทุนอย่างเสรี รวมทั้งการรวมกลุ่มสาขาที่สำคัญของอาเซียนให้เป็นรูปธรรม มีมาตรการลดภาษีสินค้าให้เป็นศูนย์ และเปิดตลาดภาคบริการทั้งหมดภายในปี 2558          2.2 การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญกับประเด็นด้านนโยบายที่จะส่งเสริมการรวมกลุ่มกันด้านเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ นโยบายภาษีและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศและพลังงาน
          2.3 การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาคโดยมีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
( SMEs )
และการส่งเสริมขีดความสามรรถผ่านโครงการต่างๆ ทั้งนี้เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก
          2.4 การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการประสานนโยบายกับนอกภูมิภาค เพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน เช่น จัดทาเขตการค้าเสรีของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ เป็นต้นรวมทั้งส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการผลิตและจาหน่ายในภูมิภาคให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก
      3. ด้านสังคมวัฒนธรรม ให้จัดตั้งประชาคมและวัฒนธรรมอาเซียน ( ASEAN Socio-Culture Community ) โดยมุ่งหวังประโยชน์จากการรวมตัวกันเพื่อทาให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี และมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีความร่วมมือเฉพาะด้าน ( Functional Cooperation ) ภายใต้สังคมและวัฒนธรรมที่ครอบคลุมหลายด้าน ได้แก่ เยาวชน การศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สิทธิมนุษยชน สาธารณสุข วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม สตรี แรงงาน ขจัดความยากจน สวัสดิการสังคมและการพัฒนาวัฒนธรรมและสารนิเทศ กิจการพลเรือน การตรวจคนเข้าเมืองและกงสุล ยาเสพติด และการจัดการกับภัยพิบัติ โดยมีคณะทำงานอาเซียนดำเนินความร่วมมือในแต่ละด้าน
ยุทธศาสตร์สำคัญในการสร้างความเชื่อมโยงของ ASEAN
      ความเป็นประชาคมอาเซียนได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความเชื่อมโยง ( ASEAN Connectivity ) ไว้ใน 7 ยุทธศาสตร์ ( Strategies ) ที่สำคัญดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1. ก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงให้แล้วเสร็จ 23 เส้นทาง ระยะทางรวมทั้งสิ้น 38,400 กิโลเมตร ได้แก่
      - ภายในปี 2012 ปรับปรุงถนนให้ได้มาตรฐานขั้นที่ 3 เป็นอย่างน้อย
      - ภายในปี 2013 ติดตั้งป้ายจราจรให้ครบทุกสายที่กำหนด
      - ภายในปี 2015 ศึกษาเพื่อเชื่อมโยงประเทศเป็นเกาะกับแผ่นดินใหญ่เพื่อเชื่อถนนสายเอเชียไปสู่จีน และอินเดีย
      - ภายในปี 2020 ปรับปรุงส่วนที่มีการจราจรเป็นถนนมาตรฐานชั้น 1
ยุทธศาสตร์ที่ 2. ดาเนินการโครงการรถไฟสิงคโปร์ - -คุนหมิง ให้แล้วเสร็จ
ยุทธศาสตร์ที่ 3. สร้างเครือข่ายระบบการขนส่งทางน้าบนภาคพื้นทวีปให้มีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงกัน
ยุทธศาสตร์ที่ 4. สร้างระบบการขนส่งทางทะเลที่เชื่อมโยงมีประสิทธิภาพและแข่งขันได้
ยุทธศาสตร์ที่ 5. สร้างระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่คล่องตัว เพื่อให้อาเซียนเป็นศูนย์กลางการขนส่งในเอเชียตะวันออกและภูมิภาคอื่นๆ
ยุทธศาสตร์ที่ 6. เร่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในชาติสมาชิก
ยุทธศาสตร์ที่ 7. ให้ความสำคัญกับโครงการหรือโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของอาเซียนเช่น พลังงานน้า พลังงานน้ามันและปิโตรเลียม พลังงานแก็ซธรรมชาติ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงบูรณาการทั้ง 7 ยุทธศาสตร์เพื่อการเชื่อมโยงของอาเซียนที่กล่าวในเบื้องต้น จะเป็นตัวแปรสำคัญในการสร้างประสิทธิภาพร่วมกันของประเทศเครือข่ายสมาชิกสมาคมอาเซียนทั้งหมดให้เกิดความเข้มแข็งในเชิงพัฒนาตามเป้าหมายหลัก 3 ประการตามที่กำหนดไว้
แนวทางการสร้างความพร้อมเพื่อก้าวสู่ ASEAN
      เพื่อสร้างความพร้อมให้กับสังคมในชาติอาเซียนเพื่อรองรับกับการก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในปี 2558 นั้น ต้องมีการสร้างและเตรียมความพร้อมในประเด็นสำคัญต่างๆดังต่อไปนี้
1. ทำความเข้าใจในเรื่องของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อสร้างความเข้าใจให้ถูกต้องตรงกัน
2. สร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในด้านต่างๆ เช่น ค่านิยมในการไม่ใช้กำลัง ยึดหลักสันติวิธี การไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆเพื่อความสงบสุขสันติภาพในภูมิภาค
3. เสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญภัยคุกคามความมั่นคง บนพื้นฐานความมั่นคงของมนุษย์ ตลอดจนการประสานการจัดทาข้อมูลกลางในเรื่องอาชญากรรมข้ามชาติในอาเซียน เพื่อแก้ปัญหาการก่อการร้าย ยาเสพติด การประพฤติผิดกฎหมายและอาชญากรรมข้ามชาติ
4. เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการทหารเพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและป้องกันความขัดแย้งรุนแรง
5. เตรียมความพร้อมสาหรับบุคลากรสาขาต่างๆอาทิ ภาอังกฤษ และภาษาท้องถิ่นเนื่องจากอาเซียนใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการประสานงาน ส่วนภาษาท้องถิ่นใช้สาหรับการติดต่อสื่อสารและอานวยความสะดวกต่อประชาชนและนักท่องเที่ยวของประเทศสมาชิก
6. ศึกษาข้อมูลต่างๆโดยเฉพาะตัวบทกฎหมายของสมาชิกแต่ละประเทศเนื่องจากมีความแตกต่างกันเพื่อประโยชน์ในการเสริมสร้างความร่วมมือและป้องกันความขัดแย้งระหว่างประเทศ
7. ศึกษาวัฒนธรรมของแต่ละประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน อาทิ ชาวมุสลิม เพื่อสร้างความเข้าใจและการปฏิบัติต่อประชาชนเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง
8. จัดตั้งสานักงาน / สำนัก / ส่วนงาน เพื่อดูแลงานรับผิดชอบด้านอาเซียนโดยเฉพาะในประเด็นที่กล่าวถึงทั้งหมดจาเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องมีการจัดเตรียมความพร้อมให้สมาชิกในสังคมต้องพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งด้านการศึกษาด้วยเช่นกัน
ขอบข่ายและแนวทางพัฒนาการศึกษารองรับ ASEAN
      การเตรียมการและสร้างความพร้อมด้านการศึกษาเพื่อรองรับความเป็นประชาคมอาเซียนนั้นเป็นประเด็นที่สำคัญยิ่งที่จะสร้างทรัพยากรมนุษย์ของคนในชาติให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลง และปรับตัวให้ทันกับสังคมอาเซียนได้อย่างมีคุณภาพและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในวิถีการดารงชีพ ในการสร้างความพร้อมและการเตรียมการด้านการศึกษานั้นจะมีกรอบแนวคิดและแนวปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวข้องที่ขอนามากล่าวถึงเพื่อประกอบการศึกษาและกำหนดแนวยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อก้าวสู่ ASEAN ดังต่อไปนี้
ก. นโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา
      นโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลปัจจุบัน (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2554 เปรียบได้ว่าเป็นการสร้างแนวทางความพร้อมด้านการศึกษาเพื่อรองรับกับการก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในหลายรูปแบบในอนาคต ซึ่งขอนามากล่าวโดยสังเขปดังต่อไปนี้
      4.1 นโยบายด้านการศึกษา
      
4.1.1 เร่งรัดพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการปฏิรูประบบการเรียนรู้ของสังคมไทย ประกอบไปด้วยการยกระดับองค์ความรู้ให้ได้มาตรฐานสากล จัดให้มีโครงการตาราแห่งชาติที่บรรจุความรู้ที่ก้าวหน้าและได้มาตรฐาน ทั้งความรู้ที่เป็นสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการอ่าน พร้อมทั้งส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศและภาษาถิ่น จัดให้มีระบบการจัดการความรู้ ปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลก และทัดเทียมกับมาตรฐานสากลบนความเป็นท้องถิ่นและความเป็นไทย เพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาทุกระดับชั้นโดยใดผลจากการทดสอบตามมาตรฐานในระดับชาติและนานาชาติ ขจัดความไม่รู้หนังสือให้หมดสิ้นไปในสังคมไทย จัดให้มีครูดีและเพียงพอในทุกห้องเรียน ให้มีโรงเรียนและสถาบันอาชีวศึกษาคุณภาพสูงในทุกพื้นที่ พัฒนามหาวิทยาลัยเข้าสู่ระดับโลก พัฒนาระบบการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรม มุ่งการสร้างจริยธรรมระดับปัจเจก รวมทั้งสร้างความตระหนักในระดับสิทธิและหน้าที่ความเสมอภาค และดาเนินการให้การศึกษาขั้นพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตยที่แท้จริง ปรับปรุงโครงสร้างระบบบริหารการศึกษาโดยการกระจายอานาจลงสู่พื้นที่ให้เสร็จสมบูรณ์โดยเริ่มจากพื้นที่ที่มีความพร้อม
       4.1.2 สร้างโอกาสทางการศึกษา กระจายโอกาสทางการศึกษาในสังคมไทยให้คำนึงถึงการสร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นกับทุกภาคส่วน รวมถึงผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้บกพร่องทางกายและการเรียนรู้รวมทั้งชนกลุ่มน้อย โดยส่งเสริมการเรียนรู้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาถึงแรกเกิด ได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพทั้งแม่และเด็ก สนับสนุนการจัดการศึกษาตามวัยและพัฒนาการอย่างมีคุณภาพ ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดให้มีการเทียบโอนการศึกษาตามลาดับสาหรับกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง จัดให้มีระบบสะสมผลการศึกษาและการเทียบโอนเพื่อขยายโอกาสให้กว้างขวาง และลดปัญหาคนออกจากระบบการศึกษา
       นอกจากนี้จะดาเนินการลดข้อจากัดของการเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาขั้นสูง โดยจัดให้มี โครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคตให้ผู้กู้ยืมได้เริ่มใช้คืนเมื่อมี่รายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงตัวได้ พักชาระหนี้แก่ผู้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาโดยปรับเปลี่ยนการชาระหนี้ระบบผูกพันกับรายได้ในอนาคต ปรับปรุงการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในทุกระดับให้เอื้อต่อการกระจายโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งจัดให้มีระบบการคัดเลือกกลางเพื่อเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ดาเนินโครงการ “ 1 ทุน 1 อาเภอเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กไทยไปเรียนต่อต่างประเทศ จัดการศึกษาชุมชนเพื่อมุ่งให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้และการศึกษาตลอดชีวิต
       4.1.3 การปฏิรูปครู ยกฐานะครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงอย่างแท้จริง โดยปฏิรูประบบการผลิตครูให้มีคุณภาพทัดเทียมนานาชาติ สร้างแรงจูงใจให้คนเรียนดีและมีคุณธรรมเข้าสู่วิชาชีพครู ปรับปรุงระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนครู พัฒนาระบบความก้าวหน้าของครูโดยใช้การประเมินเชิงประจักษ์ที่อิงขีดความสามารถและวัดสัมฤทธิผลของการจัดการศึกษาเป็นหลัก จัดระบบการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพครูอย่างต่อเนื่อง แก้ปัญหาหนี้สินครูโดยการพักชาระหนี้ และปรับโครงสร้างหนี้ตามนโยบายแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของรัฐบาล พัฒนาระบบภูมิสารสนเทศเพื่อใช้ในการกระจายครู ขจัดปัญหาการขาดแคลนครูในสาระวิชาหลักเช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษา
       4.1.4 จัดการศึกษาขั้นอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา ให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยกระบวนการสร้างประสบการณ์ระหว่างเรียนอย่างเหมาะสม สนับสนุนการสร้างรายได้ระหว่างเรียนและสนับสนุนผู้สำเร็จการศึกษามีงานทาได้ทันทีโดยความร่วมมือระหว่างแหล่งงานกับสถานศึกษา ส่งเสริมให้มีศูนย์อบรมอาชีวศึกษาเพื่อให้นักเรียน นักศึกษาและประชาชน สามารถใช้ในการเรียนรู้หาประสบการณ์ก่อนไปประกอบอาชีพ โดยให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาดาเนินการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาอาชีพร่วมจัดให้มีศูนย์ซ่อมสร้างประจาชุมชนเพื่อฝึกฝนช่างฝีมือและการสร้างทักษะในการให้บริการแก่ประชาชน
     
ทั้งนี้จะต้องดาเนินการร่วมกับภาคเอกชนอย่างจริงจังเพื่อเสริมสร้างการศึกษาในสายอาชีวศึกษาให้เป็นที่ยอมรับ และสามารถมีรายได้สูงตามความสามารถ
       4.1.5 เร่งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนานาชาติ โดยใช้เป็นเครื่องมือในการเร่งยกระดับคุณภาพและการกระจายโอกาสทางการศึกษาจัดให้มีระบบการเรียนแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ เพื่อเป็นกลไกในการเปลี่ยนกระบวนทัศน์การเรียนรู้ให้เป็นแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษา พัฒนาระบบ ไซเบอร์โฮมที่สามารถส่งความรู้มายังผู้เรียนโดยระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ส่งเสริมให้นักเรียนทุกระดับชั้นให้ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ขยายระบบโทรทัศน์เพื่อการศึกษาให้กว้างขวาง ปรับปรุงห้องเรียนนาร่องให้ได้มาตรฐานห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเร่งดาเนินการให้ กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสามารถดาเนินการตามภารกิจได้
       4.1.6 สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างทุนทางปัญญาของชาติ พัฒนามหาวิทยาลัยเพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยระดับโลก ระดมสรรพกาลังเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายการวิจัยแห่งชาติเพื่อสร้างทุนทางปัญญาและนวัตกรรมผลักดันให้ประเทศสามารถพึ่งตนเองได้ด้านเทคโนโลยีเพื่อนาไปสู่การสร้างรากฐานใหม่ของเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อการวิจัยของชาติโดยดาเนินความสัมพันธ์อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพระหว่างองค์กรบริหารการวิจัยกับสถาบันอุดมศึกษา       4.1.7 เพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน โดยร่วมมือกับภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาในการวางแผนการผลิตและพัฒนากาลังคนให้มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอ สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิตและบริการ เร่งรัดการจัดทามาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพรับรองสมรรถนะการปฏิบัติงานตามมาตรฐานอาชีพและการจัดทามาตรฐานฝีมือแรงงานให้ครบทุกอุตสาหกรรม...
ข. ยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ
     กระทรวงศึกษาธิการในยุคของนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กาหนดยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล จึงกาหนดเป็นยุทธศาสตร์ 555 ซึ่งถูกกาหนดไว้ว่าภายในเวลา 2 ปี กระทรวงศึกษาธิการจะสามารถพัฒนา 5 ศักยภาพของพื้นที่ใน 5 กลุ่มอาชีพใหม่ให้สามารถแข่งขันได้ใน 5 ภูมิภาคหลักของโลก ดังนี้
     ยุทธศาสตร์ 5 ศักยภาพของพื้นที่ ประกอบด้วย
    1. ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
    2. ศักยภาพของพื้นที่ตามสภาวะภูมิภาค
    3. ศักยภาพของภูมิประเทศ และทำเลที่ตั้ง
    4. ศักยภาพของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิต
    5. ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์
     ยุทธศาสตร์ 5 กลุ่มอาชีพใหม่ ประกอบด้วย
    1. อาชีพเกษตรกรรม
    2. อาชีพอุตสาหกรรม
    3. อาชีพพาณิชยกรรม
    4. อาชีพด้านความคิดสร้างสรรค์
    5. อาชีพบริหารจัดการและบริการ
     ยุทธศาสตร์ 5 ภูมิภาคหลักของโลกได้แก่
    1. ทวีปแอฟริกา ( Africa )
    
2. ทวีปยุโรป ( Europe )
    3. ทวีปอเมริกา ( America )
    4. ทวีปออสเตรเลีย ( Australia )
    5. ทวีปเอเชีย ( Asia )
ทั้งนี้จากยุทธศาสตร์ 555 ที่กล่าวนั้นต้องคำนึงถึงหลักการพื้นฐานสำคัญดังนี้
      1. คำนึงถึงศักยภาพและการบริหารรอบด้านของผู้เรียน
      2. พัฒนาและยกระดับ องค์ความรู้ และกระบวนการเรียนการสอนให้ทัดเทียมนานาอารยะประเทศด้านยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ และการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
      3. มุ่งสู่เป้าหมายของการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับศักยภาพในการทางานให้กับบุคลากร/คนไทยให้แข่งขันกับระดับสากลได้
ค. ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาระดับพื้นที่
      จากการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์เชิงนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการยุคใหม่แล้ว จะเห็นได้ว่าแนวนโยบายดังกล่าวได้มุ่งเน้นไปสู่การปรับสร้างยุทธศาสตร์ของการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา โดยมีแนวทางในการพัฒนาภายใต้การยึดพื้นที่เป็นหลัก ( Area-Based Approach )เพื่อให้เกิดการประสานการทางานกันทุกฝ่ายทุกระดับและทุกประเภทการศึกษา ซึ่งนับว่าเป็นแนวทางและเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ การทางานที่มุ่งเน้นการบริหารโดยยึดพื้นที่เป็นฐานนั้น หัวใจสำคัญที่ต้องไม่ลืมและต้องทาให้ได้คือ การยึดโรงเรียนเป็นฐานสำคัญของการปฏิบัติ ( School- Based Approach ) กระจายอำนาจให้โรงเรียนมีอิสระ คล่องตัว ผู้บริหารต้องอยู่โรงเรียน ครูอยู่ที่ห้องเรียนเป็นหลัก       กระบวนทัศน์ ( Paradigm ) ของการจัดการศึกษาตามแนวคิดที่กระทรวงศึกษาธิการยุคปัจจุบันกำหนดขึ้นโดยกำหนดระบบบริหารจัดการไว้ที่พื้นที่เป็นฐานการปฏิบัติ ( Area – Based ) ทั้งนี้โดยยึดพื้นที่ตั้งจังหวัดเป็นฐาน เพื่อมุ่งส่งเสริมการมีอาชีพหรือการสร้างรายได้ของผู้ที่จบการศึกษาในแต่ละพื้นที่เป็นประการสำคัญ ซึ่งกระบวนทัศน์หรือแนวคิดดังกล่าวมีชื่อเรียกเฉพาะว่า หลักสูตรต้นน้า กลางน้ำ ปลายน้ำประกอบด้วยประเด็นสำคัญของระบบงานมีดังนี้
   ต้นน้ำ
  - กิจการศักยภาพของพื้นที่
  - เน้นการจัดการศึกษาโดยยึดพื้นที่เป็นฐานในการพัฒนา ( Area-based Development )
  - หลักสูตรศึกษาที่เน้นอาชีพเป็นฐาน ( Career-based Education )
   กลางน้ำ
  - ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรที่กำหนด
  - มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
  - ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
    ปลายน้ำ
  - ผู้ผ่านระบบการศึกษาทุกคนทุกกลุ่มมีงานทำ ดูแลตนเองและสังคมได้
  - สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้
หลักสูตรการศึกษาแบบต้นน้า - กลางน้ำ - ปลายน้ำ    ที่กล่าวนั้นแสดงให้เห็นได้ ดังต่อไปนี้
     ต้นน้ำ
1. ยึดพื้นที่เป็นฐาน ( Area-Based Approach )
2. มุ่งเน้นอาชีพ ( Career-Based Development )
     กลางน้ำ
1. ดำเนินการพัฒนาหลักสูตร ครู และบุคลากรอื่นๆ
2. เน้น 5 อาชีพหลักได้แก่
         - การเกษตร
         - อุตสาหกรรม
         - พาณิชยกรรม
         - ความคิดสร้างสรรค์
         - การจัดการและบริการ
     ปลายน้ำ
1. ผู้เรียนมีอาชีพ มีงานทา
2. สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก
     หลักสูตรตามแนวคิดหรือกระบวนทัศน์ ( Paradigm ) ใหม่ที่กาหนดขึ้นมานี้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นที่และสถานศึกษา จะเป็นฐานสาคัญของการพัฒนาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพแก่ผู้เรียน และประการสาคัญก็คือเกิดการสร้างวิชาชีพเชิงพัฒนา ( Career Development ) มุ่งสู่การแข่งขันในระดับโลก ( World Competitiveness )ในที่สุด
     บทสรุป : การสร้างศักยภาพการศึกษามุ่งสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน
จากการวิเคราะห์เพื่อสร้างความพร้อมด้านการศึกษาของไทยในการก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนโดยยึดโยงแนวคิดจากยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาหลายระดับทั้งจากระดับชาติ ระดับกระทรวง และระดับพื้นที่ลงสู่ระดับสถานศึกษา นั้น สามารถสรุปเป็นตัวแบบ ( Model ) ของการเตรียมการและสร้างความพร้อมใน 3 ตัวแบบที่ขอนามาสรุปให้เห็นดังต่อไปนี้
     Model  1. การสร้างความพร้อมของการศึกษาเชิงระบบ
       จากนบายรัฐบาลด้านการศึกษาและยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อมุ่งสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนนั้น เป็นยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญยิ่งที่ต้องมุ่งสร้างศักยภาพและผลประโยชน์สูงสุดร่วมกันให้เกิดขึ้นในภูมิภาค
       ประเด็นสำคัญเพื่อสร้างศักยภาพและความพร้อมของการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเป็น ASEAN นั้นต้องเป็นกระบวนการทางานในเชิงระบบ ( Systems Approach ) ให้มากยิ่งขึ้น มีการวิเคราะห์ความจาเป็นเพื่อยึดโยงไปสู่เป้าหมายตามจุดประสงค์ที่กำหนด โดยวิเคราะห์จากฐานความรู้หรือประสบการณ์เดิมเป็นฐานสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมา จะเป็นข้อมูลฐานสำคัญที่จะนาไปสู่การต่อยอดพัฒนาและปฏิบัติตามแนวนโยบายที่ภาครัฐกำหนดไว้เป็นยุทธศาสตร์ของการดาเนินงานเชิงระบบ บทสรุปสุดท้ายคือการสร้างคุณภาพมาตรฐานความรู้ เกิดศักยภาพในการแข่งขันและเกิดคุณภาพชีวิตที่ดีส่งผลต่อสังคมรอบด้าน
      Model  2. ระบบการจัดการศึกษาที่สมบูรณ์
       การจัดการศึกษามุ่งสู่สมาคมอาเซียนนอกจากจะเป็นการศึกษาจากหลักสูตรที่กาหนดเพื่อสร้างสังคมยุคสารสนเทศที่มีความทั่วถึงและทัดเทียมกันแล้ว ยังต้องเป็นการศึกษาที่มุ่งสร้างคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์ที่สุดด้วยเพื่อขจัดปัญหาด้านวิถีการดารงชีวิตที่หลากหลายให้หมดไป ซึ่งการจัดการศึกษาที่สมบูรณ์ที่มุ่งสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนจะประกอบไปด้วยหลักสาคัญ 3 ประการดังที่ท่านพุทธทาสภิกขุได้กล่าวไว้คือ
      1. เป็นการศึกษาที่สร้างความฉลาด สร้างสติปัญญาในขั้นพื้นฐาน พอตัว คือพอแก่ความต้องการ
      2. เป็นการศึกษาที่สร้างคนให้มีความรู้เรื่องวิชาชีพ และมีอาชีพพอตัวสามารถปฏิบัติได้
      3. เป็นการศึกษาที่สร้างความมีมนุษยธรรม คือความเป็นมนุษย์อย่างถูกต้อง
      Model  3. การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองโลก
       การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง ( Civic Education ) เป็นการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง ( Citizenship ) ของระบอบประชาธิปไตย การเป็นสมาชิกของสังคมที่มีอิสรภาพควบคู่กับความรับผิดชอบ และมีสิทธิเสรีภาพควบคู่กับหน้าที่ โดยมีความสามารถในการยอมรับความแตกต่างและเคารพกติกาการอยู่ร่วมกัน พร้อมทั้งมีส่วนร่วมต่อความเป็นไปและแก้ปัญหาของสังคมตนเอง กล่าวโดยสรุปการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองจะประกอบไปด้วยลักษณะสำคัญ 6 ประการคือ
      1. มีอิสรภาพที่ควบคู่กับความรับผิดชอบ
      2. เคารพสิทธิ์ของผู้อื่น
      3. เคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล
      4. เคารพหลักความเสมอภาค
      5. เคารพกฎกติกาทางสังคม
      6. มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา


ที่มา :  http://www.addkutec3.com

วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

60 ปีไทยโทรทัศน์



         ''สถานีไทยโทรทัศน์'' ซึ่งมีวาระครบ 60 ปี ก็คือสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย คือกำเนิดเกิดขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2495
ที่เรียกกันว่า ''สถานีไทยโทรทัศน์ช่อง 4'' ในสมัยนั้นที่ทำการอยู่วังบางขุนพรหม แพร่ภาพออกอากาศด้วยระบบโทรทัศน์ขาวดำ มีกำลังส่งออกอากาศยังไม่ทั่วทั้งกรุงเทพฯ เป็นสื่อสารแปลกใหม่ในสมัยก่อน 25 พุทธศตวรรษ ประชาชนคนคู่มีจำนวนไม่มาก เพราะเครื่องรับโทรทัศน์มีราคาสูงมาก หากเปรียบเทียบกับเครื่องรับวิทยุแล้ว แพงกว่าเป็นสิบ...สิบเท่า
         สมัยก่อนเก่า เครื่องรับวิทยุราคาหลักร้อย แต่เครื่องรับโทรทัศน์ราคาหลักหมื่น เพราะฉะนั้นจึงเกิดมีระบบผ่อนส่งเครื่องรับโทรทัศน์ขึ้นอย่างแพร่หลาย
       ''สถานีไทยโทรทัศน์'' ซึ่งสมัยนั้นสังกัดอยู่กับกรมประชาสัมพันธ์ มีทั้งสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์พร้อมกัน
        สถานีโทรทัศน์ที่ทำการอยู่ในวังบางขุนพรหม ซึ่งอยู่ระหว่างบางลำพูกับเทเวศร์
        ส่วนสถานีวิทยุอยู่ที่ตึกริมถนนราชดำเนิน บริเวณ ''สี่แยกคอวัว''
ประชาชนคนฟังวิทยุและดูโทรทัศน์เรียกรวมกันว่า ''ททท.'' ซึ่งเป็นคำย่อของคำว่า ''สถานีไทยโทรทัศน์'' 
        การแพร่ภาพออกอากาศของสถานีโทรทัศน์สมัยนั้น จะเริ่มตอนเย็นประมาณสี่...ห้าโมงเย็น และจะปิดสถานีตอนห้าทุ่ม บางคืนก็อาจจะถึงเที่ยงคืน ถ้ารายการโทรทัศน์ซึ่งสมัยนั้นทั้งละครโทรทัศน์ และรายการต่างๆ จะจัดกันสดยังไม่เสร็จสิ้น ผิดไปจากทุกวันนี้ ทั้งภาพยนตร์โทรทัศน์ ที่ยังเรียกกันผิด...ผิดว่า ''ละครโทรทัศน์'' รวมทั้งรายการวาไรตี้ต่างๆ จะอัดกันไว้ล่วงหน้า จะเว้นไว้ก็เพียงรายการข่าว ที่จะต้องรายงานสด อัดล่วงหน้าแบบภาพยนตร์และรายการวาไรตี้ต่างๆ ไม่ได้
        รายการโทรทัศน์ในสมัยนั้น แตกต่างไปจากรายการโทรทัศน์ในปัจจุบัน คือเจ้าหน้าที่ของสถานีโทรทัศน์จะเป็นผู้จัดทำเอง...ไม่อนุญาตให้คนนอกเข้ามาจัดรายการ พนักงานของสถานีโทรทัศน์ทุกคนทั้งหญิงชาย จึงเป็นผู้มีความสามารถรอบตัว คือเป็นได้ทั้งเจ้าหน้าที่ของสถานี ซึ่งมีภาระแตกต่างกันไป แต่ก็สามารถเป็นพิธีกรผู้ประกาศข่าว เป็นนักแสดงละคร หรือแสดงศิลปะต่างๆ ที่เรียกได้ว่า ทั้งร้องทั้งรำได้พร้อมสรรพ แตกต่างไปจากสถานีโทรทัศน์สมัยนี้ ที่พนักงานขององค์กรเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ทำงานในภาระที่รับผิดชอบ แต่การแสดงทั้งหลายได้มาจากคนภายนอกหมด และที่สำคัญก็คือ การโฆษณาที่มีมากมายจนทำให้เกิดความเบื่อหน่าย จึงทำให้เกิดมีสถานีโทรทัศน์ที่เรียกว่า ''สถานีโทรทัศน์ประชาชน'' อย่าง ''ไทยพีบีเอส'' เกิดขึ้นมา
         หกสิบปี...ของสถานีไทยโทรทัศน์กับสามสิบห้าปีของสถานีโทรทัศน์ ''อสมท'' มีความแตกต่างกันมากมาย ไม่ใช่เพียงตัวเลขของช่องซึ่งสมัยก่อนเรียกกันว่า ''สถานีโทรทัศน์ช่อง 4''
แต่ปัจจุบันนี้เรียกว่า ''สถานีโทรทัศน์ช่อง 9'' หรือจะเรียกให้เต็มก็ต้องเรียกว่า ''สถานีโมเดิร์นไนน์''
          แต่ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร หรือจะมีความแตกต่างกันเพียงไหนแต่ก็ขอแสดงความยินดีในวาระที่ทั้งสองสถาบันมีอายุยืนยาวกันมานาน อายุยืนยาวถึงเพียงนี้ จะเห็นได้ว่าโทรทัศน์ กำลังมีอิทธิพลบทบาทมากในสังคมนักดู (โทรทัศน์) ซึ่งนับวันก็จะมีมากกว่าสังคมนักอ่าน (หนังสือพิมพ์) จนอาจกล่าวได้ว่า โทรทัศน์เป็นจักรพรรดิของสื่อมวลชนในยุคดิจิตอลเช่นทุกวันนี้
"สันติ เศวตวิมล"


ประวัติความเป็นมา

สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ (อังกฤษModernine TV) เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย บริหารงานโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หรือ บมจ.อสมท โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล ก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ในนาม สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ที่ตั้งปัจจุบัน อยู่ภายในที่ทำการ บมจ.อสมท เลขที่ 63/1 ถนนพระรามที่ 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีความเป็นมา ดังนี้

สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4

สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 (อังกฤษ: Thai Television Channel 4 ชื่อย่อ: ไทย ที.วี.) เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินงานภายใต้การบริหารของ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (อังกฤษ: Thai Television Co.,Ltd. ชื่อย่อ: ท.ท.ท.) จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 มีชื่อเรียกขานตามอนุสัญญาสากลว่าด้วยวิทยุโทรทัศน์ว่า HS1-TV มีที่ทำการตั้งอยู่ที่วังบางขุนพรหม ที่ทำการของธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน อันเป็นที่มาของชื่อสถานีฯ ที่รู้จักกันทั่วไปคือ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม

กล้องช่อง 4 บางขุนพรหม

สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 มีที่มาเริ่มแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 เมื่อนายสรรพสิริ วิรยศิริ ซึ่งขณะนั้นเป็นข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ เขียนบทความลงในหนังสือเล่มหนึ่ง เผยแพร่เทคโนโลยีการสื่อสารชนิดใหม่ในขณะนั้น โดยให้ชื่อบทความว่า "วิทยุภาพ" ต่อมา ข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งได้รับมอบหมายจากกรมฯ ให้ไปศึกษางานด้านโทรทัศน์ ที่สหรัฐอเมริกา เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2492-2493 หลังจากกลับมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็แสดงความคิดเห็นต่อรัฐบาล ถึงการจัดตั้งกิจการโทรทัศน์ว่า "ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรมี เทเลวิชัน" จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จึงสั่งการให้กรมประชาสัมพันธ์ นำเสนอ "โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ" ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2493 โดยมีมติให้จัดตั้ง สถานีวิทยุโทรภาพ และตั้งงบประมาณขึ้น ในปีถัดมา (พ.ศ. 2494) แต่ไม่ประสบความสำเร็จในระยะแรกเริ่ม จึงต้องยกเลิกโครงการดังกล่าวไปโดยปริยาย เนื่องจากเสียงส่วนมาก ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่า สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน ไปโดยเปล่าประโยชน์
อนึ่ง นายประสิทธิ์ ทวีสิน ประธานกรรมการ บริษัท วิเชียรวิทยุและโทรภาพ จำกัด นำเครื่องส่งโทรภาพ 1 เครื่อง และเครื่องรับ 4 เครื่อง น้ำหนักรวมกว่า 2 ตัน ทำการทดลองออกอากาศ ให้คณะรัฐมนตรีชมเป็นครั้งแรก ที่ทำเนียบรัฐบาล และเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ก็เปิดฉายให้ประชาชนรับชม ที่ศาลาเฉลิมกรุง เขตพระนคร กรุงเทพฯ
ต่อมา ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ปีเดียวกันนี้ (พ.ศ. 2495) มีรัฐมนตรี และข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ส่วนหนึ่ง จำนวน 7 คน ซึ่งประกอบด้วย หลวงสารานุประพันธ์, หม่อมหลวงขาบ กุญชร, นายประสงค์ หงสนันทน์, พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์, นายเล็ก สงวนชาติสรไกร, นายมุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ และ นายเลื่อน พงษ์โสภณ เล็งเห็นถึงคุณค่าของการพัฒนาประเทศ ด้วยการใช้สื่อโทรภาพ เพื่อเผยแพร่กระจาย ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และเสริมสร้างคุณภาพ ของประชาชนในประเทศ จึงระดมทุนจากกรมประชาสัมพันธ์ ให้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำนวน 11 ล้านบาท และหน่วยงานภาครัฐอีก 8 แห่ง ถือหุ้นมูลค่า 9 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 20 ล้านบาท ร่วมกันนำมาเป็นทุนจัดตั้ง "บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด" ขึ้นเพื่อดำเนินการส่งโทรทัศน์ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด มีคณะผู้ปฏิบัติงานในยุคแรก ได้แก่ นายจำนง รังสิกุล เป็นหัวหน้าฝ่ายผลิตรายการ, นายอัมพร พจนพิสุทธิ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายกำกับภาพ, นายสมชาย มาลาเจริญ เป็นหัวหน้าฝ่ายช่างกล้อง, นายธนะ นาคพันธุ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายควบคุมการออกอากาศ, นายเกรียงไกร (สนั่น) ชีวะปรีชา เป็นหัวหน้าฝ่ายเครื่องส่ง, นายธำรง วรสูตร และ นายฟู ชมชื่น ร่วมกันเป็นหัวหน้าฝ่ายเครื่องส่งและเสาอากาศ, นายจ้าน ตัณฑโกศัย เป็นหัวหน้าฝ่ายกำกับเสียง, นายสรรพสิริ วิรยศิริ เป็นทั้งหัวหน้าฝ่ายช่างภาพและแสง และหัวหน้าฝ่ายข่าว และ นายรักษ์ศักดิ์ วัฒนพานิช เป็นหัวหน้าฝ่ายบริการเครื่องรับโทรทัศน์
บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ดำเนินการจัดตั้ง สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. ขึ้นก่อนจะมีสถานีโทรทัศน์ เพื่อระดมทุนมาบริหารงาน และฝึกบุคลากร รวมทั้งเตรียมงานด้านอื่นไปพร้อมกันด้วย โดยส่งกระจายเสียงจากอาคารที่ทำการสถานีฯ บริเวณแยกคอกวัว และเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2497 ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 โดยมี พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (อธิบดีกรมตำรวจ ในขณะนั้น) เป็นประธานในพิธี ขณะเดียวกัน ก็เริ่มทดลองออกอากาศ จากห้องส่งของสถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. เมื่อสร้างอาคารที่ทำการ พร้อมติดตั้งเครื่องส่ง เสร็จสิ้นแล้ว จึงมีพิธีเปิด สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 เมื่อวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งตรงกับวันชาติในสมัยนั้น โดยมี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานในพิธี โดยมี นายจำนง รังสิกุล เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่และผู้อำนวยการสถานีฯ คนแรก โดยใช้เครื่องส่งขนาด 10 กิโลวัตต์ แพร่ภาพขาวดำ ระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที ในช่วงแรก มีการแพร่ภาพทุกวันอังคาร, วันพฤหัสบดี, วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ระหว่างเวลา 18.30-23.00 น. ต่อมา จึงเพิ่มวันและเวลาออกอากาศ มากขึ้นตามลำดับ

เสาส่งช่อง 4 บางขุนพรหม
เพลงเปิดการออกอากาศ ของทั้งสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 และสถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด คือเพลง "ต้นบรเทศ" (ซึ่งปัจจุบันเป็นเพลง ต้นวรเชษฐ์[1]) ในวันออกอากาศวันแรก มีนางสาวอารีย์ นักดนตรี ผู้ประกาศ รำบรเทศออกอากาศสด และนางสาวเย็นจิตต์ สัมมาพันธ์ เป็นผู้ประกาศแจ้งรายการ โดยผู้ประกาศในยุคแรก จะเป็นสุภาพสตรี ได้แก่ นางสาวเย็นจิตต์ สัมมาพันธ์ (ปัจจุบันคือ นางเย็นจิตต์ รพีพัฒน์ ณ อยุธยา), นางสาวอารีย์ นักดนตรี (ปัจจุบันคือ นางอารีย์ จันทร์เกษม), นางสาวดาเรศร์ ศาตะจันทร์, นางสาวนวลละออ ทองเนื้อดี (ปัจจุบันคือ นางนวลละออ เศวตโสภณ), นางสาวชะนะ สาตราภัย และนางสาวประไพพัฒน์ นิรัตพันธ์ ส่วนผู้ประกาศข่าว จะเป็นสุภาพบุรุษ ได้แก่ นายสรรพสิริ วิรยศิริ, นายอาคม มกรานนท์, นายสมชาย มาลาเจริญ และนายบรรจบ จันทิมางกูร
ทั้งนี้ รัฐบาลไทยสมัยนั้น ใช้สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ในการถ่ายทอดการปราศรัยของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี, เผยแพร่ผลงานของรัฐบาล, ถ่ายทอดการประชุมรัฐสภา ตลอดจนถ่ายทอดสดงานเฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ในปี พ.ศ. 2500 แต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น จึงส่งผลให้กองทัพบก โดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น สั่งการให้จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นอีกแห่งหนึ่งคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ขาว-ดำ หรือปัจจุบันคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5) ในระหว่างปี พ.ศ. 2500-2501

สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 และ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.

ราวประมาณต้นเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2517 บจก.ไทยโทรทัศน์ ยุติการออกอากาศ ในระบบขาวดำ 525 เส้น ทางช่อง 4 โดยย้ายห้องส่งโทรทัศน์ ไปยังอาคารสำนักงานใหญ่ย่านถนนพระสุเมรุ แขวงบางลำพู เพราะเนื่องจากในปีพ.ศ. 2502 ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ขอซื้ออาคารที่ทำการของไทยทีวีช่อง 4 และสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดของวังบางขุนพรหม โดยแลกกับ บ้านมนังคศิลา ในราคา 39 ล้านบาท
และในปีเดียวกัน ก็เปลี่ยนช่องสัญญาณ และระบบการออกอากาศ จากภาพขาวดำ ในระบบวีเอชเอฟ ทางช่อง 4 เป็นภาพสี ในระบบวีเอชเอฟ 625 เส้น ทางช่อง 9 อย่างสมบูรณ์ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 (อังกฤษ: Thai Television Channel 9) และเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ ในเมื่อราวปี พ.ศ. 2517
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 คณะรัฐมนตรี ที่นำโดยนายกรัฐมนตรีธานินทร์ กรัยวิเชียร มีมติให้ยุบเลิกกิจการ บจก.ไทยโทรทัศน์ ส่งผลให้การดำเนินงานของ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 สิ้นสุดลงด้วย ต่อมาวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2520 โดยให้จัดตั้งหน่วยงานชื่อ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อังกฤษ: The Mass Communication Organisation of Thailand ชื่อย่อ: อ.ส.ม.ท.; M.C.O.T.) ให้เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินกิจการสื่อสารมวลชนของรัฐ ให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นที่น่าเชื่อถือ ต่อสาธารณชน โดยรัฐบาลไทย มอบทุนประเดิมไว้ เป็นจำนวน 10 ล้านบาท และให้รับโอนกิจการสื่อสารมวลชน ของ บจก.ไทยโทรทัศน์ ซึ่งประกอบด้วย สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. และ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 มาดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2520 ซึ่งเป็นวันสถาปนา อ.ส.ม.ท. ทำให้สถานีโทรทัศน์เปลี่ยนชื่อมาเป็น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. โดยอัตโนมัติ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด อาคารที่ทำการ อ.ส.ม.ท. บนเนื้อที่ 14 ไร่ ที่มีห้องส่งโทรทัศน์ ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยขณะนั้น เมื่อเวลา 09:25 นาฬิกา ของวันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2524[2] ต่อมาในราวปี พ.ศ. 2529 ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพิธีกรรายการความรู้คือประทีปในขณะนั้น ตอบรับคำเชิญของ ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท.ในขณะนั้น ให้เข้ามาช่วยปรับปรุงการนำเสนอ ข่าว 9 อ.ส.ม.ท. ร่วมกับ บริษัท แปซิฟิก คอร์ปอเรชั่น จำกัด ส่งผลให้ผู้ประกาศข่าวคู่ ที่โด่งดังที่สุดในยุคนั้นก็คือ ดร.สมเกียรติ และนางสาวกรรณิกา ธรรมเกษร
วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 อ.ส.ม.ท.ร่วมลงนามในสัญญากับ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. เพื่อขยายเครือข่ายกิจการโทรทัศน์ ไปสู่ส่วนภูมิภาค และหน่วยงานภาครัฐฯ จัดสรรคลื่นความถี่ส่ง ด้วยระบบวีเอชเอฟ พร้อมอุปกรณ์การออกอากาศ เพื่อจัดตั้งสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ในการกำกับของ อ.ส.ม.ท.แต่ละแห่ง (ระยะหลังจึงขยายไปสู่ระบบยูเอชเอฟ) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2531-เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2534 เป็นระยะเวลา 3 ปี จึงทำให้ สถานีโทรทัศน์ในการกำกับของ อ.ส.ม.ท. ทั้งสองแห่ง สามารถออกอากาศไปได้ทั่วประเทศ
ราวปี พ.ศ. 2535 นาย แสงชัย สุนทรวัฒน์ เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. ในช่วงที่ อ.ส.ม.ท.ถูกเรียกว่า แดนสนธยาเนื่องจากมีกลุ่มอิทธิพลมืด ฝังตัวอยู่ในองค์กร แต่นายแสงชัย ก็สามารถขจัดอิทธิพลมืด เหล่านั้นได้สำเร็จ รวมถึงสามารถพัฒนา อ.ส.ม.ท.ขึ้นมาเป็นอย่างดี แต่แล้ว นายแสงชัยก็ถูกลอบสังหารด้วยอาวุธปืน เสียชีวิตระหว่างนั่งรถยนต์ เดินทางกลับบ้านพัก ที่เมืองทองธานี ถนนแจ้งวัฒนะ จากผลการสอบสวนของตำรวจ ระบุว่า นางอุบล บุญญชโลธร อดีตผู้ได้รับสัมปทานจัดรายการ ทางสถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท.ส่วนภูมิภาค จ้างวานให้ นายทวี พุทธจันทร์ บุตรเขย ส่งมือปืนไปลอบสังหารนายแสงชัย ต่อมา นางอุบลถูกลอบสังหาร เสียชีวิตบนรถยนต์ ก่อนกลับถึงบ้านพัก เช่นเดียวกับนายแสงชัย

สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์

ด้วยตามดำริของ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท.ในขณะนั้น ที่ต้องการปรับปรุงการบริหารงานของ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ให้มีความทันสมัย รวดเร็ว และฉับไว ในด้านการนำเสนอ รายงานข่าวสาร สาระความรู้ และความบันเทิง เพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคโลกาภิวัฒน์ และเพื่อขจัดความเป็น "แดนสนธยา" ภายในองค์กรอีกด้วย
ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 จึงมีพิธีเปิดตัว สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี โดยการเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้น ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ และปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอ เป็นสถานีข่าว 24 ชั่วโมง เพิ่มข่าวต้นชั่วโมง และแถบตัววิ่งข่าว (News Bar) เพิ่มช่วงแมกกาซีนออนทีวี ในข่าวภาคค่ำ นำเสนอข่าวสาร และสาระความรู้ ในประเด็น และการนำเสนอแบบสบายๆ โดยใช้วิธีการนำเสนอแบบนิตยสาร รวมถึงประกาศเพิ่มความสัมพันธ์ และเพิ่มบทบาทกับ เครือข่ายข่าวชั้นนำทั่วโลก เช่น สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น (สหรัฐอเมริกา) สถานีโทรทัศน์บีบีซี (สหราชอาณาจักร) สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค (ญี่ปุ่น) สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี (จีน) เป็นต้น โดยเริ่มออกอากาศในรูปแบบใหม่ดังกล่าว ตั้งแต่เวลา 18.30 น.เป็นต้นไป แต่ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนชื่อสถานีฯ ไปแล้ว แต่คนไทยส่วนมาก ก็ยังนิยมเรียกชื่อสถานีฯ ว่า ช่อง 9 ตามเดิม
สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์ การออกอากาศโทรทัศน์ ตลอดจนการควบคุมการออกอากาศ โดยแพร่ภาพออกอากาศ จากกรุงเทพมหานคร ไปยังสถานีเครือข่าย ในส่วนภูมิภาค 32 สถานี สามารถให้บริการ ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 79.5 ของประเทศ มีประชากรในขอบเขตการออกอากาศ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 96.5 ของประเทศ โดยมีรายการประเภทข่าวสาร สาระความรู้ ความบันเทิง กีฬา และรายการเพื่อสาธารณประโยชน์ รวมทั้งถ่ายทอดสดต่างๆ ซึ่งได้จัดรายการประเภทข่าวสาร และสาระความรู้ ในด้านต่างๆ มานำเสนอในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ ที่มีผู้ชมมากที่สุด เพื่อให้ผู้ชม ได้รับข่าวสาร และความรู้ ที่เป็นประโยชน์ อย่างเท่าเทียมกัน และมุ่งหวังว่า จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของประชาชน
มีเหตุการณ์สำคัญที่สถานีฯ เกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 คือเมื่อเวลา 22.15 น. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่จากสหรัฐอเมริกา ถ่ายทอดสดทางโมเดิร์นไนน์ทีวี แต่อ่านแถลงการณ์ได้เพียงสามฉบับ ก็มีกำลังพลทหารพร้อมด้วยอาวุธกลุ่มหนึ่ง บุกยึดเข้าไปยังสถานีฯ พร้อมออกคำสั่งให้หยุดการแพร่ภาพทันที จึงทำให้เจ้าหน้าที่สถานีฯ ต้องปฏิบัติตามในที่สุด
นายจักรพันธุ์ ยมจินดา รองประธานกรรมการ ในฐานะ รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท แถลงปรับปรุงรายการข่าวโทรทัศน์ของสำนักข่าวไทย ว่าจะใช้เทคโนโลยีวิดีโอวอลล์ ขนาดความยาว 20 เมตร ความกว้าง 3 เมตร กับการรายงานข่าวในช่วงเวลาต่างๆ และจะใช้เฮลิคอปเตอร์ในการรายงานข่าวเป็นครั้งแรก ใช้ชื่อช่วงว่า "เบิร์ด อายส์ นิวส์" (Bird Eye's News) รวมทั้งจะจัดให้มีการสำรวจความเห็นของผู้ชม โดยใช้ชื่อว่า เอ็มคอท โพลล์ (MCOT Poll) นอกจากนี้ ยังจะปรับปรุงตราสัญลักษณ์ ของสำนักข่าวไทยขึ้นใหม่ ให้มีความทันสมัย และทันโลกมากขึ้น โดยจะเริ่มดำเนินการในโอกาสที่ เปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ครบ 10 ปี ในงานครบรอบวันสถาปนา อสมท วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

ตราสัญลักษณ์



พ.ศ. 2498-2517
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม มีตราสัญลักษณ์เป็นรูป "วิชชุประภาเทวี" หมายถึงเทวดาผู้หญิง ที่เป็นเทพเจ้าแห่งสายฟ้า หรือนางพญาแห่งสายฟ้า ประดับด้วยลายเมฆ และสายฟ้า อยู่ภายในรูปวงกลม ที่ออกแบบโดย กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ (ในขณะนั้น)



พ.ศ. 2517-2519
หลังจากที่สถานีได้เปลี่ยนไปออกอากาศในระบบวีเอชเอฟ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 แล้ว จึงได้เปลี่ยนตราสัญลักษณ์ เป็นรูปกรอบจอโทรทัศน์ ภายในเป็นรูปคลื่นกระจายสัญญาณ โดยฝั่งซ้ายมีสีที่กระจายอยู่ 3 สี คือแดง เขียว น้ำเงิน และตัวเลข 9 สีดำ อยู่ภายในวงกลมสีเหลือง ซึ่งอยู่ฝั่งขวา อย่างไรก็ตาม สัญลักษณ์นี้ใช้อยู่เพียงระยะสั้นๆ ก่อนจะโอนกิจการไปเป็นของ อ.ส.ม.ท. ในปี พ.ศ. 2520



พ.ศ. 2519-2546
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. มีตราสัญลักษณ์เป็นรูปกรอบจอโทรทัศน์ ภายในแบ่งเป็นแถบเส้นโค้งสามแถบ มีสามแม่สีแสง คือ แดง เขียว น้ำเงิน และตัวเลข 9 สีดำ ประทับอยู่ในใจกลางสัญลักษณ์ ทั้งหมดเดินเส้นด้วยสีขาว และมีเส้นขอบสีดำอยู่ภายนอกสุด และตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2520 จึงเพิ่มชื่อย่อ "อ.ส.ม.ท." ไว้ที่ส่วนล่างของตราสัญลักษณ์เดิม



พ.ศ. 2546-ปัจจุบัน
สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ มีตราสัญลักษณ์เป็นรูปวงกลม มีเส้นตัดกันอยู่ทางซ้ายมือ แทนลูกโลก ทางขวามือมีตัวเลข 9 สีม่วงซ่อนอยู่ ด้านบนมีเส้นโค้งสีเทา ลักษณะโดยรวมคล้ายดวงตา ด้านล่างมีตัวอักษรย่อ “MCOT” หรือ อสมทสีส้ม เดินเส้นขอบสีเทา กำกับอยู่ด้วย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เป็นหน่วยงานแรก ก่อนที่รัฐบาลจะแปรรูปองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2547